กฤษณา

  ชื่อวิทยาศาสตร์  :       Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. ชื่อวงศ์  :      THYMELAEACEAE ชื่ออื่นๆ :   ไม้หอม (ภาคตะวันออก) , กายูกาฮู กายูการู (ปัตตานี-ภาคใต้)กฤษณา(ภาคตะวันออก)  กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี) ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้) จีน ติ่มเฮียง(ไม้หอมที่จมน้ำ)  ลักษณะ   ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานกว้างประมาณ 6 ซม. ยา 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลเป็นผลแห้งรูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล สรรพคุณ  :  เนื้อไม้   ซึ่งเป็นสีดำ และมีกลิ่นหอม คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ ใช้ผสม ยาหอม แก้ลมวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆบำบัดโรคปวดบวมตามข้อ หมายเหตุ เนื้อไม้กฤษณาที่ดีนั้น ต้องมีกลิ่นหอม และเป็นสีดำ วิธีที่จะใช้พิสูจน์ว่า คุณภาพของมัน ดีหรือไม่ดี นั้นกระทำได้โดยให้ตัดไม้เป็นท่อน ๆแล้วให้โยนลงในน้ำ แล้วสังเกตว่าท่อนใดจมน้ำได้ทันที และมีลักษณะเป็นสีดำ แสดงว่าเป็นชนิดดี ที่นิยมใช้ทำยา ซึ่งเรียกว่า Gharki ท่อนที่ลอยน้ำซึ่งเรียกว่า Samaleh ชนิดนี้เราจะพบหกันทั่วไป และสำหรับท่อนที่ลอบปริ่มน้ำ เรียกว่า Samaleh-i-aala หรือ Neem Ghaeki จะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือน้ำตาลอ่อนจะไม่นิยมใช้ในทางยา นอกจากนี้ยังมีวิธีที่จะพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งคือโดยการนำเอาเนื้อไม้ไปฝังดินไว้ เนื้อไม้ที่ดีก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีดำ และกลิ่นหอมมันก็จะหอมด้วย"ไม้หอม (จันทบุรี-ตราด)

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะของต้นกฤษณา

ลักษณะของกฤษณา
ต้นกฤษณา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 18-30 เมตร วัดขนาดรอบลำต้นได้ความยาวประมาณ 1.5-1.8 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่มเจดีย์ต่ำๆ หรือเป็นรูปกรวย ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นเรียบมีสีเทาอมขาว เปลือกมีความหนาประมาณ 5-10 มิลลิเมตร เมื่ออายุมากๆเปลือกนอกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ส่วนเปลือกด้านในจะมีสีขาวอมเหลือง ต้นมีรูระบายอากาศสีน้ำตาลอ่อนอยู่ทั่วไป ตามกิ่งอ่อนจะมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ มักมีพูพอนที่โคนต้นเมื่อมีอายุมาก ต้นกฤษณาชอบขึ้นในที่ชุ่มชื้น จึงมักพบได้ทั่วไปตามป่าดงดิบทั้งชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำลำธาร โดยธรรมชาติต้นกฤษณาจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สำหรับการปลูกกฤษณาและการขยายพันธุ์ที่นิยมทำในปัจจุบันคือการขุดกล้าไม้จากบริเวณต้นแม่มาปลูกในเรือนเพาะชำ จนกล้าไม้มีอายุได้ 1 ปี จึงค่อยย้ายไปปลูกในแปลง ส่วนวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ก็คือ การตอนกิ่ง และการปักชำ

น้ำมันกฤษณา
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากกฤษณาจะประกอบไปด้วยสารที่เป็นยางเหนียวหรือเรซิน (Resin) อยู่มาก ส่วนสารที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม คือ Sesquiterpene alcohol ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ Agarospirol, -Agarofuran, Agaro, และ Dihydroagarofuran

ใบกฤษณา มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี มีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-11 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม ส่วนโคนใบมน ใบเป็นสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบและเกลี้ยง มีขนขึ้นประปรายอยู่ตามเส้นใบด้านล่าง ส่วนก้านใบยาวประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร

ดอกกฤษณา ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมสีเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ มีปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ติดทน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน

ผลกฤษณา ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี ผลยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวของผลมีลักษณะขรุขระเป็นลายสีเขียว และมีขนละเอียดสั้นๆ คล้ายกำมะหยี่ขึ้น ผลเมื่อแก่จะแตกและอ้าออก ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะกลมรี ขนาดประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีหางเมล็ดสีส้มหรือสีแดง ปกคลุมไปด้วยขนสั้นนิ่มสีแดงอมน้ำตาล โดยผลจะเริ่มแก่และแตกอ้าออกในช่วงเดือนสิงหาคม





นางสาว กัญญาวีร์ ลีประพันธ์กุล ชั้น ม.5/3 เลขที่ 21
นางสาว กาญจนา สนธิพร ชั้น ม.5/3 เลขที่ 22




1 ความคิดเห็น: